หลังคาบ้านที่เหมาะกับ ประเทศไทย

หลังคาบ้านที่เหมาะกับ ประเทศไทย

สำหรับหลังคาบ้านสวย ๆ ที่ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ก่อสร้างไม่ยุ่งยาก ได้ความสวยงามแบบสมัยใหม่ ได้แก่ หลังคาทรงแบน, หลังคาทรงเพิงหมาแหงน และหลังคาทรงปีกผีเสื้อ แต่มีจุดด้อยคือกันแดดกันฝนได้ไม่ดีนัก และมีโอกาสเกิดการรั่วซึมมาก

ส่วนหลังคาทรงกลม เป็นหลังคาที่มีความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัว แต่ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ และยังใช้งบประมาณสูงกว่าหลังคาแบบอื่น เนื่องจากต้องใช้วัสดุประเภท เมทัลชีท, ไฟเบอร์กลาส, ยางมะตอย และแผ่นทองแดง ซึ่งมีจุดด้อยคือไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่ากับทรงอื่น ๆ  บ้านจัดสรรภูเก็ต

หลังคาบ้านที่เหมาะกับ ประเทศไทย

หลังคาบ้านที่เหมาะกับ ประเทศไทย

หลังคาบ้านที่เหมาะกับ ประเทศไทย รสนิยมไม่มีคำว่าถูกผิด เช่นเดียวกับการเลือกหลังคาบ้านสวย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องของความชอบแล้ว ควรเลือกวัสดุและโครงสร้างที่รองรับกัน ซึ่งสามารถปรึกษาช่างหรือผู้รับเหมาได้ เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความสวยงาม และอายุการใช้งานที่ยืนยาวขึ้นของหลังคานั่นเอง

หลังคาบ้านแบบไหนเหมาะกับอากาศเมืองไทย (home&decor) ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับรูปแบบของหลังคาที่เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเราก่อน ซึ่งรูปแบบหลังคา ที่เหมาะกับอากาศของประเทศไทยก็คือ หลังคาทรงจั่ว เนื่องจากผ่านการพิสูจน์จากกาลเวลามาเรียบร้อยแล้ว ว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมากที่สุด ด้วยลักษณะที่มีความลาดเอียงมากทำให้ระบายน้ำฝนได้เร็วและช่วยระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี

ส่วนรูปแบบหลังคาอื่น ๆ เช่น หลังคาสแลป มีลักษณะแบนราบหรือเรียกอีกอย่างว่าหลังคา ดาดฟ้า ข้อดีคือเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้ แต่ข้อเสียคือถ้าก่อสร้างไม่ดี อาจทำให้น้ำรั่วซึมลงไปยังชั้นล่าง และพื้นคอนกรีตยังเป็นตัวเก็บความร้อน ทำให้บ้านร้อนอีกด้วย หลังคาอีกแบบที่พบเห็นบ่อย ๆ คือหลังคาทรง Lean to Roof หรือเพิงหมาแหงน มีลักษณะเอียงลาดไป ด้านใดด้านหนึ่งเพื่อช่วยในการระบายน้ำฝน ส่วนใหญ่บ้านสไตล์โมเดิร์นมักใช้รูปแบบหลังคาประเภทนี้ ข้อควรระวังคือ องศาความลาดเอียงของหลังคาต้องเพียงพอให้น้ำฝนระบายออกได้

หลังคาบ้านที่เหมาะกับ ประเทศไทย

กระเบื้องหลังคาสวยอย่างเดียวอาจไม่พอ

เพราะเพียง กระเบื้องมุงหลังคา อย่างเดียว ไม่อาจตอบโจทย์ความสบายแบบครบถ้วนของบ้านได้ หากละเลยโครงสร้างก็สามารถเกิดปัญหาการรั่วซึมและหลุดล่อนทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้เช่นกัน

1.กระเบื้องหลังคา

การเลือกวัสดุมุงหลังคาก็ช่วยบ่งบอกสไตล์ของบ้านและเจ้าของบ้านได้เช่นกัน ในปัจจุบันวัสดุที่นิยมใช้มุงหลังคามากที่สุดก็คือ กระเบื้องหลังคา เนื่องจากมีรูปลักษณ์และคุณสมบัติที่เหมาะสม มีรูปแบบให้เลือกหลากหลายเข้ากับบ้านได้ทุกสไตล์ อาทิ บ้านสไตล์โมเดิร์นทันสมัย ก็ควรเลือกใช้กระเบื้องมุงหลังคาแผ่นเรียบที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงดูโมเดิร์นให้เข้ากับตัวบ้าน หากสไตล์บ้านออกแนวร่วมสมัย สามารถเลือกใช้หลังคาเป็นลอนโค้งเพิ่มความคลาสสิกให้กับบ้าน หรือถ้าหากบ้านสไตล์ธรรมชาติ ลองเลือกหลังคารูปลักษณ์และสีสันคล้ายกับปีกไม้ก็จะยิ่งช่วยสร้างบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น

แต่ถ้าแยกย่อยลงไปอีกก็จะพบว่ากระเบื้องหลังคา แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายดังต่อไปนี้ กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ พบเห็นกระเบื้องหลังคาประเภทนี้ได้เยอะที่สุด ในหลังคาของบ้านพักอาศัย เนื่องจากมีความแข็งแรงและสวยงาม แต่มีน้ำหนักมาก จึงต้องใช้โครงหลังคาเหล็กที่มีความแข็งแรงเพี่อรองรับน้ำหนักของตัววัสดุ

กระเบื้องดินเผา ส่วนใหญ่เห็นในหลังคาอาคารที่มีลักษณะความเป็นไทย เช่น เรือนไทย วัด โบสถ์ ผลิตจากดินเหนียวผสมน้ำ นวดให้เข้ากันจนได้ที่แล้วนำไปขึ้นรูปและเผาไฟจนได้แผ่นกระเบื้องที่มีความแข็งแรง นำไปมุงหลังคาได้ มีทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบน้ำยา

กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ บางคนอาจคุ้นกับคำว่า กระเบื้องลอนคู่มากกว่า แต่ก็คือกระเบื้องหลังคาชนิดเดียวกัน ปัจจุบันกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์เกือบทุกยี่ห้อจะไม่มีใยหินเป็นส่วนประกอบและมีความแข็งแรงทนทานมากกว่ากระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ในอดีต รวมทั้งมีสีสันให้เลือกมากและราคาไม่แพง จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ

หลังคาเซรามิก ยังคงเป็นหลังคาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับบ้าน เพราะตัวเซรามิก มีความมันวาว จึงโดดเด่นในด้านความสวยงามของรูปลอนและความสวยเนียนของสีที่เคลือบบนผิวของหลังคา โดยเฉพาะเมื่อแสงแดดจากพระอาทิตย์สาดส่อง ตัวหลังคาเซรามิกสามารถ สะท้อนสีสันบนผิวออกมาอย่างชัดเจน ทำให้บ้านดูสวยงาม ตัวเซรามิกเองก็มีความทนทานป้องกันความร้อนได้ดี

นอกจากนี้ยังมีวัสดุมุงหลังคาประเภทต่าง ๆ เช่น แผ่นโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นแผ่นพลาสติก โปร่งแสง ใช้ทำหลังคาหรือกันสาดให้แสงสว่างส่องผ่านได้ หรือหลังคาที่เลียนแบบวัสดุธรรมชาติ เช่น ทางมะพร้าว ใบจาก ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์แต่มีสีสันและพื้นผิวสัมผัสคล้ายกับวัสดุธรรมชาติ

2. โครงหลังคา

โครงหลังคาเปรียบเสมือนโครง กระดูกที่อยู่ภายในร่างกาย จึงต้องมีความแข็งแกร่ง ทนทานเพื่อพยุงหลังคาทั้งหลังได้อย่างมั่นคง แม้จะมองจากภายนอกไม่เห็นก็ตาม วัสดุที่นิยมใช้เป็นโครงหลังคามี 2 ประเภท คือไม้เนื้อแข็ง และเหล็ก แต่ในปัจจุบันโครงหลังคาไม้มีราคาสูงและมักประสบปัญหา กับคุณภาพของไม้ ทั้งเรื่องไม้ที่ยังไม่แห้งสนิทหรือไม่ได้รับการทายากันปลวกตามกำหนด จึงทำให้โครงหลังคาไม้ค่อย ๆ ลดจำนวนลงไป ส่วนโครงหลังคาเหล็กก็มี 2 ประเภท คือ โครงหลังคาเหล็กรูปพรรณ เป็นโครงหลังคาที่ทำจากเหล็กรูปตัว C นำมาเชื่อมต่อกัน ทาสีกันสนิมแล้วยกเหล็กขึ้นไปเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมด้านบนเพื่อเป็นโครงหลังคา แล้วจึงมุงด้วยวัสดุมุงหลังคา ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบของโครงหลังคาเหล็กก็คือเรื่องสนิมและการเชื่อม หากการควบคุมงานไม่ดี หรือไม่มีโฟร์แมนคอยคุม ผู้รับเหมาอาจลักไก่ทาสีกันสนิมไม่ครบตามที่กำหนด หรือเกิดความเสียหายจาก การเชื่อมซึ่งยากต่อการตรวจสอบ

สำหรับโครงหลังคาเหล็กอีกประเภทคือ โครงหลังคาสำเร็จรูป ซึ่งผลิตจากเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์กันสนิมเรียบร้อย มีน้ำหนักเบา คำนวณปริมาณเหล็กที่แน่นอนไม่เหลือเศษ พร้อมวัดขนาดและตัดมาจากโรงงาน นำมายึดกันด้วยแผ่นเหล็กและตะปูเกลียวเท่านั้น จึงสามารถติดตั้งโครงหลังคาได้รวดเร็วกว่า โครงหลังคาเหล็กรูปพรรณ

3.อุปกรณ์หลังคา

ช่วยเติมเต็มประโยชน์ของหลังคาให้ ครบถ้วนและสวยงามขึ้น เช่น แผ่นปิดรอยต่อที่ใช้รองใต้กระเบื้อง ช่วยป้องกันน้ำรั่วซึมที่ใช้แทนระบบเปียกเพื่ออุดรอยต่อ ระหว่างกระเบื้องหลังคา ตะปูเกลียว และขอยึด ที่ต้องทำจากเหล็กชุบสังกะสีเพื่อช่วยป้องกันสนิม ตลอดจนไม้เชิงชาย และแผ่นปิดกันนกแบบมีช่องระบายอากาศ ช่วยลดความร้อนและยังป้องกันสัตว์เล็ก ๆ เข้าไปอยู่อาศัยใต้หลังคาด้วย โดยอุปกรณ์หลังคาที่นิยมใช้กันมีอยู่ 7 ชนิด คือ

1. แผ่นสะท้อนความร้อน ซึ่งเป็นอลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน โดยไม่ควรกักเก็บความร้อนไว้ในตัว และต้องมีความแข็งแรงทนทาน ไม่ฉีกขาด และไม่ติดไฟง่าย

2. แปเหล็ก ซึ่งออกแบบเพื่อใช้งานบนหลังคาโดยเฉพาะ มีความแข็งแรง ปลอดสนิม เพราะเป็นเหล็กเต็มขนาด ติดตั้งง่ายและยึดด้วยตะปูเกลียวชุบกัลวาไนซ์กันสนิม บ้านเดี่ยว บ้านแฝด

3. รางน้ำตะเข้ เพื่อรองรับและระบายน้ำ โดยปราศจากปัญหาการรั่วและล้นราง อาจเป็นวัสดุสเตนเลสหรือกัลวาไนซ์ก็ได้

4. แผ่นปิดรอยต่อ เป็นแผ่นพลาสติกสังเคราะห์ตัดขึ้นรูปตามลอนกระเบื้อง ทนทานต่อแดดและฝน โดยไม่รั่วซึม และสามารถทาสีให้กลมกลืนกับกระเบื้องหลังคาได้

5. แผ่นปิดเชิงชาย ช่วยป้องกันสัตว์เล็กเข้าไปสร้างความเสียหายใต้หลังคา และมีช่องเล็ก ๆ ช่วยระบายอากาศ ลดความอับชื้น ทั้งนี้ควรจะทนต่อความร้อนโดยไม่แตกกรอบหรือบิดตัว

6. กระเบื้องโปร่งแสง เลือกใช้สำหรับห้องที่ต้องการเปิดรับแสงสว่างจากธรรมชาติ และช่วยลดปัญหาความอับชื้นภายใน

7. ชุดครอบระบบแห้ง เพื่อป้องกันการรั่วซึม และระบายความชื้นใต้โครงหลังคาได้ดี

หลังคาแบบไหน บ้านไม่ร้อน

หลังคาแบบไหน บ้านไม่ร้อน

ด่านแรกที่ความร้อน จากดวงอาทิตย์ส่งมา ยังบ้านของเราก็คือหลังคา ทำให้หลายคนให้ความ สำคัญกับหลังคามากขึ้น นอกจากคำถามว่า หลังคาสีอะไรดี ใช้กระเบื้องอะไรดี ก็เริ่มมีคำถามใหม่ ๆ เกิดขึ้นว่า ใช้หลังคาแบบไหนบ้านถึงจะไม่ร้อน แต่ก่อนจะตอบคำถามนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การป้องกันไม่ให้บ้านร้อนนั้นมีหลายปัจจัยที่สามารถช่วยได้ เช่น ทิศทางการวาง ตำแหน่งของบ้าน แต่ที่หลังคามีความสำคัญใน การป้องกันความร้อนได้นั้น ก็เพราะว่าปริมาณความร้อนส่วนใหญ่ที่เกิดในบ้านมา จากด้านบนของบ้าน หรือทางหลังคานั่นเอง

รูปแบบหลังคาทรงจั่ว เป็นรูปแบบหลังคา ที่ช่วยป้องกันและระบาย ความร้อนให้กับบ้านได้ดีที่สุด สาเหตุเพราะมีพื้นที่ใต้หลังคามาก ซึ่งอากาศที่อยู่ใต้ผืนหลังคาทำหน้าที่ เป็นเหมือนฉนวนกันความร้อน ช่วยกั้นอากาศร้อนไม่ให้กลับเข้ามาภายในห้อง นอกจากนี้การออกแบบหลังคาให้มีช่อง เพี่อระบายความร้อน เช่น ระแนงบานเกล็ด หรือใช้บล็อกช่องลม เป็นตัวช่วยให้อากาศร้อนใต้ หลังคาถ่ายเทได้เร็วขึ้น บ้านจัดสรร

ส่วนวัสดุมุงหลังคาก็มีส่วนช่วยลด ความร้อนให้กับบ้านได้ ส่วนใหญ่มีค่าการสะท้อน ความร้อนที่เหมาะสม ช่วยให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่สะสมอยู่ในผิววัสดุ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ วัสดุที่ใช้ทำกระเบื้องหลังคา อย่างกระเบื้องหลังคาเซรามิกผิวมัน ซึ่งมีคุณสมบัติเก็บความร้อนได้น้อย แต่คายความร้อนได้เร็ว ก็ช่วยให้หลังคาบ้านไม่ร้อน ส่วนสีของหลังคาก็มีผลต่อความร้อนเช่นกัน โดยหลังคาสีอ่อนจะเก็บความร้อนน้อย และสะท้อนรังสีความร้อนได้ดีกว่าหลังคาสีเข้ม

นอกจากการเลือกรูปแบบหลังคา และวัสดุมุงหลังคาที่ช่วยลด ความร้อนให้กับตัวบ้านแล้ว การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันความร้อน ให้กับผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้เป็นอย่างดี ฉนวนกันความร้อนที่มักใช้กับหลังคา ได้แก่ แผ่นสะท้อนความร้อน มีลักษณะคล้ายแผ่นฟอยล์หนา ช่วยป้องกัน และสะท้อนความร้อนจากแผ่นกระเบื้อง ติดตั้งใต้แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา ฉนวนอีกแบบคือ ฉนวน Green 3 ใช้ติดตั้งบนฝ้าเพดานแม้ จะก่อสร้างเสร็จแล้ว มีความหนาให้เลือก 4-6 นิ้ว และมีน้ำหนักเบา ช่วยสะท้อนความร้อนที่ผ่านกระเบื้องหลังคาเข้า มาให้ออกไปทางระแนงหรือช่องระบายอากาศที่ออกแบบไว้

No Responses

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *